วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

สีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด

พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่

         1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
         2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
         3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด

         ลักษณะทั่วไปของพระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง
สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์

         1. พิมพ์ใหญ่
         2. พิมพ์กลาง
         3. พิมพ์เล็ก
         4. พิมพ์ต้อ
         5. พิมพ์ตื้น
นอกจากนี้ยังมีสีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด ซึ่งมีอยู่ ๖ สีด้วยกันคือ

         1. สีเขียว
         2. สีพิกุล (สีเหลือง)
         3. สีแดง
         4. สีเขียวคราบเหลือง
         5. สีเขียวคราบแดง
         6. สีเขียวหินครก

         สำหรับสีของพระรอด ทั้ง 6 สี นี้เป็นสีของพระรอดทุกพิมพ์ทั้ง 5 พิมพ์จะมีสีสันวรรณะแตกต่างกันไป ตามสีทั้ง 6 และนอกเหนือจากทั้งสี 6 สี นี้พระรอดจะไม่มีสีอื่นๆ ไปโดยเด็ดขาดนอกจากนี้พระรอดทุกพิมพ์ (ทั้ง 5 พิมพ์) พระกรรณ หรือใบหูของพระองค์ จะต้องติดชัดทุกพิมพ์ และฝ่าพระหัตต์ด้านขวา ที่วางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ด้านขวาจะต้องมี 6 พิมพ์ และทุกองค์ โดยเฉพาะองค์ที่มีความคมชัดจะเห็นได้ชัดเจน

พระรอดวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่
   
         พระรอดพิมพ์นี้ต้องเรียกว่าพิมพ์ใหญ่ ก็เพราะว่า ลักษณะขององค์พระจะมีฐาน 4 ชั้น ซึ่งมีมากกว่าพระรอดพิมพ์อื่นๆ (ที่มีเพียง 3 ชั้นเท่านั้น) ดั้งนั้นถ้าพระรอดมีฐาน 4 ชั้นก็จะต้องเป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งฐาน 4 ชั้น ของพระรอดพิมพ์ใหญ่จะต้องปประกอบด้วย ฐานชั้นที่ 1, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 3, และชั้นที่ 4 โดยฐานชั้นที่ 3 และชั้นที 4 จะติดกัน ส่วนด้านล่างสุด เป็นเนื้อเกินที่ล้นพิมพ์ และจะกดพับขึ้นมาชนกับฐานชั้นที่ 4 นอกจากนี้ยังมีแอกลักษณ์ ที่เป็นพระพิมพ์ใหญ่อีก ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป และจะได้พิจารณาถึงเอกลักษณ์ที่เป็นพิมพ์ใหญ่ ซึ่งเป็นหลักในการพิจารณาพิมพ์ของพระรอดพิมพ์ใหญ่


ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระรอด

         1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
         2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
         3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
         4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
         5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
         6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
         7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
         8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน
         9.ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
        10.ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง
        11.ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
        12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
        13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ

พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น