วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตำหนิพระรอดพิมพ์กลาง

ตำหนิพระรอดพิมพ์กลาง

1.ประภามลฑลมีลักษณะคล้ายปลายหอก
 2.โพธิ์รูปคมขวาน
3.เนื้อเกินบนโพธิ์สมมุติ
4.เส้นแตกซอกแขนสองเส็นบางพิมพ์สามเส้น
5.มีฐาน3 ชั้นฐานที่3 หนาใหญ่
6.เนื้อเกินที่.ใต้ฐานที่ 3 มีลักษณะคล้ายก้นแมลงสาป
7.โพธิ์ติ่ง
8.มีลักษณะนูนเด่นคล้ายไข่ปลา
9.หน้าอกนูน
10.ปีกพระยื่นออกมา
11.เส้นผ้าทิพย์

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระรอด

ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระรอด
 1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
 2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
 3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
 4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
 5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
 6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
 7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
 8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน
 9.ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
10.ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง
11.ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ

พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544

วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พระรอดพิมพ์กลาง ใหญ่ เล็ก อื่นๆ มีการขุดพบครั้งแรกเมื่อ ?


พระรอดพิมพ์กลาง ใหญ่ เล็ก อื่นๆ มีการขุดพบครั้งแรกเมื่อ ?
พระรอดมีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอดในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร
พระรอดขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอดกรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้

พระรอดมี
การพบครั้งแรกราวรัชกาลที่ 5 แต่ที่ได้จากการบันทึก ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้พังทลายลงบางส่วน สมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นมาใหม่ และครั้งนั้นได้พบพระรอดในกรุเจดีย์ ผู้พบพระรอดในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง ตั้งแต่นั้นก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบ นำบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม

ผู้สร้างพระรอดมหาวัน ลำพูน

ชื่อเดิมคือ พระนารทะ (ชื่อฤาษีผู้สร้าง)จุดเด่นคือมีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาพระเครื่อง สร้างประมาณปี
พ.ศ.1223 เป็นพระเครื่องสุดยอดของจังหวัดลำพูน พระรอดลำพูน ตำนานกล่าวว่าสร้างในสมัยทวาราวดีมีอายุนับพันปีมาแล้วในสมัยพระนางจามเทวีปกครองเมือง ชื่อเดิมคือเมืองหริภุญไชย ปัจจุบันคือจังหวัดลำพูน

เหตุที่สร้าง เมื่อพระนางจามเทวีได้ทรงสถาปนาพระอาราม ชื่อ จตุรพุทธปราการ (วัดมหาวัน) ขึ้นจึงได้ดำริให้สร้าง พระเจดีย์ไปพร้อมกัน พร้อมทั้งบรรจุ พระรอด โดย พระสุมณานารทะฤาษี เป็นผู้สร้าง สถานที่พบคือวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน พบเป็นครั้งแรก ในระหว่างปี พ.ศ.2435-2445 ในสมัย เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ก็เพราะว่าได้มีการปฎิสังขรพระเจดีย์วัดมหาวัน เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมและพังทลายลงมามาก โดยการสร้างสวมครอบองค์เดิมลงไป ระหว่างที่โกยเศษที่ปรักหักพัง ที่กองทับถมกันอยู่เพื่อนำไปถมหนองน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด ได้พบพระรอดเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้มีการพบพระรอดอีกหลายครั้งภายในบริเวณวัดมหาวัน

พุทธคุณ เด่นทางแคล้วคลาด,คุ้มภัย
แหล่งข้อมูล:
www.kornprom.com/benjaphakee

รู้หรือยัง ? ประวัติ พระรอดพิมพ์กลาง พิพม์เล็ก,ใหญ่,ต้อ,ตื้น

รู้หรือยัง ? ประวัติ พระรอดพิมพ์กลาง พิพม์เล็ก,ใหญ่,ต้อ,ตื้น
ประวัติ พระรอด พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิพม์เล็ก กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน
   
พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือ
พระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน
   
         พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร
   
         พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว
   
         จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้
พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย
   
         พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระ
ประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก

         เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน

         นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก

ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544