วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระรอด "พระรอดพิมพ์กลาง"

"พระรอด" ที่นับได้ว่าเป็นองค์สำคัญในชุดเบญจภาคี คือ "พระรอด พิมพ์ใหญ่" ซึ่งมีพุทธลักษณะและ
พุทธศิลปะที่งดงาม และนับเป็นพิมพ์ที่มีการทำเทียมสูงสุด มีหลักการพิจารณาในเบื้องต้น ดังนี้

- แยก "กลุ่มโพธิ์" ให้ได้ 6 กลุ่ม โดยจะมีก้านโพธิ์กั้น

- ผนังซ้ายมือขององค์พระ จะมี "เส้นพิมพ์แตก" ลากจากพระกรรณยาวลงมาถึงโพธิ์ข้างหัวไหล่

- ปลายพระกรรณ เป็น "ขอเบ็ด"

- สะดือเป็นหลุมคล้าย "เบ้าขนมครก"

- มี "เส้นน้ำตก" ลากผ่านหน้าตักจนถึงชั้นฐาน

- มี "ฐาน" 4 ชั้น

- หัวแม่มือขวา กางอ้าปลายตัด

- ใบโพธิ์กลางชุดที่ 2 เป็น "โพธิ์ติ่ง"

- ใบโพธิ์จะตั้งเป็นสันนูนขึ้นมา คล้ายทรงพีระมิด

- เนื้อองค์พระจะละเอียดมาก ด้านหลังเป็นรอยคล้ายลายนิ้วมือ

- ก้นมีสองชนิด คือ ก้นเรียบและก้นแมลงสาบ (ก้นพับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น